Les nouveautés et Tutoriels de Votre Codeur | SEO | Création de site web | Création de logiciel

seo กฎ 20 ข้อในการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นเลิศและประสบความสำเร็จ 2013

Seo Master present to you:
  1. ให้ความนับถือผู้ชมเว็บของคุณ อย่าพยายามบังคับให้พวกเขาอ่านเนื้อหาในเว็บของคุณทั้งหมด ปล่อยให้พวกเขาเลือกและตัดสินใจเองว่าจะอ่านอะไร ให้ลองนึกว่าถ้าคุณเป็นผู้ชมเว็บ คุณจะทำอย่างไรกับหน้าต่างที่ป๊อบอัพขึ้นมาและกล่องโฆษณาที่เกลื่อนกลาดอยู่เต็มไปหมด
  2. โฆษณาที่แย่ กล่องโฆษณาที่น่ารำคาญอาจช่วยเพิ่มรายได้ให้คุณเพียงชั่วขณะหนึ่ง แต่ในระยะยาวแล้ว มันไม่ทำให้เว็บไซต์ของคุณประสบความสำเร็จได้ อย่างไรก็ตาม การผนวกโฆษณาเข้ากับเนื้อหาของเว็บไซต์ และจัดโครงสร้างของเว็บให้ดีก็จะช่วยให้โฆษณานั้นไม่รบกวนผู้ชม มันจะช่วยให้เว็บของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้นและยังช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่คุณ ได้ด้วย
  3. ให้ข้อมูลและสอนผู้ชมเว็บของคุณ แบ่งปันความคิด ไอเดีย ประสบการณ์ และความรู้ของคุณให้กับคนที่ต้องการหรืออาจจะต้องการคำแนะนำจากคุณ เมื่อคุณมีข้อมูลเหล่านี้ คุณก็มีเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะดึงดูดความสนใจของมวลชนมาที่งาน ความสนใจ และบริการของคุณได้ นอกจากนี้แล้ว ถ้าคุณแบ่งปันความรู้ที่มีคุณค่ากับผู้ใช้คนอื่น คุณก็จะได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นบุคคลที่รู้ว่าเขาหรือเธอกำลังพูดถึง อะไร
  4. สร้างสรรค์สไตล์ของคุณ สร้างสรรค์จากไอเดียของคุณ ทำให้ตัวคุณเกิดแรงบันดาลใจ แต่อย่าลอกเลียนแบบ มันน่าสนใจกว่ามากที่จะได้รู้ว่าคุณมีความสามารถอะไรแทนที่จะไปสนใจว่าคน อื่นมีความสามารถอะไร ค้นหาจินตนาการและความอยากรู้อยากเห็นของคุณเอง ไอเดียใหม่ๆ หรือไอเดียเก่าที่ถูกพัฒนาขึ้น ย่อมดึงดูดผู้ใช้เว็บมากกว่าของลอกเลียนแบบ
  5. ใส่ใจกับมาตรฐาน คิดถึงคนให้มาก การใช้มาตรฐานเว็บที่ดีจะช่วยลดงานของคุณในอนาคตลงได้มาก เมื่อคุณจะสร้างเว็บสำหรับคนทั่วไป มันจึงมีเหตุผลที่คุณจะใช้เวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่จะตรวจสอบโค้ดต่างๆ และทำให้มันเป็นมาตรฐาน เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามมาตรฐานดีแล้ว คุณก็ไม่ต้องกังวลว่าในอนาคตจะมีเว็บบราวเซอร์เวอร์ชั่นใหม่เกิดขึ้นมาซึ่ง จะทำให้เว็บของคุณมีปัญหา นอกจากนี้เว็บของคุณจะต้องสามารถอ่านได้ง่าย (Readability) เข้าถึงได้ง่าย (Accessibility) และใช้งานง่าย (Usability) จำไว้ว่าคุณต้องนับถือผู้ชมเว็บของคุณ
  6. ใช้ข้อความที่ชัดเจน อย่ากลัวที่จะบอกว่าคุณต้องการสื่ออะไร ความคลุมเครือทำให้เกิดระยะห่างระหว่างคุณกับผู้ชมเว็บของคุณอย่างไม่จำเป็น ให้ใช้ข้อความที่เด่นชัดต่อผู้ชมเว็บถ้าคุณต้องการนำเสนออะไรให้แก่พวกเขา ถ้าคุณระบุให้ชัดเจนว่าคุณกำลังพูดถึงอะไรอยู่ คุณก็จะได้รับผลตอบรับที่ดีหรือได้คำตอบของคำถามที่คุณสงสัย
  7. เกลียด Internet Explorer ได้ถ้าคุณอยาก แต่อย่าปฏิเสธผู้ใช้มัน อย่าออกแบบเว็บที่เหมาะสำหรับบางเว็บบราวเซอร์เป็นพิเศษ คุณควรออกแบบเว็บให้เหมาะสำหรับ Internet Explorer เหมือนกับที่ออกแบบให้กับบราวเซอร์อื่นๆ Internet Explorer อาจจะไม่ใช่บราวเซอร์ที่ดีที่สุด แต่ก็มีผู้ใช้เว็บถึง 85% ที่ใช้มันอยู่ ให้กลับไปดูกฎข้อที่ 1
  8. เอาใจใส่เนื้อหาของเว็บ สำหรับเว็บที่กำลังพัฒนา คุณจะต้องทำให้มันมีข้อมูลที่น่าสนใจและมีรูปลักษณ์ที่ดูดี อย่าลืมว่าผู้ชมเว็บของคุณจะจดจำทุกสิ่ง เมื่อคุณแสดงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมแก่พวกเขาโดยที่ไม่มีข้อความ อธิบายว่ามีอะไรซ่อนอยู่ภายใต้ลิงค์นั้น คุณก็จะไม่ได้เห็นผู้ชมเว็บเหล่านี้อีกเลย ถ้าโค้ดของเว็บไซต์เป็นร้อยกรอง เนื้อหาของเว็บไซต์ก็เป็นร้อยแก้ว
  9. อย่ากังวลมากกับ SEO อย่าไปมองในระดับคีย์เวิร์ด เพราะมีสิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือเว็บไซต์ของคุณต้องการนำเสนออะไร การพยายามเพิ่มตำแหน่งใน search engine นั้นเสียเวลามากกว่าการเขียนบทความที่มีประโยชน์ลงในบล็อกของคุณ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญ SEO คุณจะทราบว่าคุณต้องปรับแต่งเว็บไซต์ตลอดเวลาเพื่อให้มีอันดับที่ดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณเขียนบทความที่ดี มันจะอยู่กับเว็บไซต์ของคุณไปตลอด
    หลีกเลี่ยงการทำ SEO และ PageRank แบบผิดๆ การทำ Search Engine Optimization ที่ไม่ถูกต้อง (การแลกเปลี่ยนลิงค์กับทุกเว็บไซต์บนเน็ตเท่าที่เป็นไปได้ การโพสต์ลิงค์ของคุณในเว็บรวมลิงค์ ฯลฯ) จะทำให้เว็บของคุณถูกแบนจาก search engine สำคัญๆ ในที่สุด อัลกอริธึมของ search engine ถูกปรับปรุงตลอดเวลา ท้ายที่สุดแล้วความพยายามของคุณก็จะไม่เกิดประโยชน์ และยังเสี่ยงที่ PageRank จะกลายเป็น 0
  10. ติดต่อ แต่อย่าสแปม ให้คนที่สนใจเนื้อหาของคุณได้รู้ว่าคุณมีเนื้อหานั้นๆ ต้องรู้ก่อนว่าใครคือกลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพ จากนั้นให้เอาใจใส่กับคนที่อาจจะสนใจในบริการของเว็บคุณ นึกถึงเว็บไซต์ที่พวกเขาชอบเข้าไปชม แล้วติดต่อเจ้าของเว็บไซต์เหล่านี้เพื่ออธิบายถึงประโยชน์ของบริการของคุณ แต่จำไว้ว่าคุณไม่ได้เขียนถึงโปรแกรม แต่คุณกำลังเขียนถึงมนุษย์ ซึ่งจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะแบ่งปันบริการของคุณให้กับผู้ชมเว็บของเขาหรือ ไม่ จำไว้ว่าจะส่งลิงค์ แต่ให้ส่งคำเชิญชวนที่มีข้อความที่สุภาพที่อธิบายว่าเว็บของคุณมีอะไรที่แตก ต่างจากเว็บอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน ต้องมั่นใจว่าคนที่คุณเขียนถึงตระหนักได้ว่ามันสำคัญต่อผู้ชมเว็บของพวกเขา อย่างไร จงจำไว้ว่าคุณไม่ได้ทำเพื่อเงิน แต่ทำเพื่อผู้ใช้ อย่าสแปม อย่าโฆษณา แต่ให้เผยแพร่สิ่งที่มีประโยชน์
  11. ไม่ต้องเกรงใจที่จะถาม มีนักพัฒนาเว็บจำนวนมากที่เคย กำลัง หรือจะถามคำถามเดียวกับที่คุณมีอยู่ตอนนี้ อย่าลังเลที่จะถาม อย่าลังเลที่จะหาคำตอบ ยิ่งคำถามของคุณฉลาดมากเท่าไร คำถามนั้นก็มีโอกาสจะได้รับคำตอบมากขึ้นเท่านั้น และยังทำให้คนพบเว็บของคุณจาก search engine อีกด้วย
  12. ตอบอีเมลทันที ติดต่อกับลูกค้าที่มีศักยภาพของคุณให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ อย่าปล่อยให้อีเมลกองอยู่ใน inbox นานเกิน 12 ชั่วโมง อย่าส่งข้อความตอบกลับอัตโนมัติ คนที่เขียนข้อความถึงคุณรู้ว่าเขากำลังเขียนถึงคุณ อย่าทำให้คนอื่นเสียเวลาเช่นเดียวกับที่คุณไม่ทำให้ตัวเองเสียเวลา พยายามสร้างความประทับใจให้กับคนที่คุณติดต่อด้วย ตอบกลับอย่างมั่นใจ มืออาชีพ เป็นกันเอง และเป็นตัวของตัวเอง
  13. ใช้ประโยชน์ของ social bookmark อย่ากลัวที่จะเผยแพร่เว็บไซต์ของคุณผ่าน Digg, Reddit, Furl, del.icio.us, Ma.gnolia, Blinklist และเว็บไซต์ social bookmark อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ให้เลือก tag ที่จะใช้ในเว็บเหล่านี้อย่างระมัดระวังซึ่งจะทำให้ผู้ชมเว็บเข้ามาที่เว็บ ของคุณ และถ้า tag ถูกเลือกใช้อย่างมีเหตุมีผล ไม่เพียงแต่จะมีผู้ชมเว็บเข้ามาเท่านั้น แต่คุณยังสามารถโน้มน้าวให้พวกเขาช่วย tag บทความของคุณใน social bookmark ต่อด้วย
  14. สร้างความสัมพันธ์ นักพัฒนาเว็บที่สร้างสรรค์มักจะได้รับการสนับสนุนจากบล็อกของนักพัฒนาเว็บด้วยกัน
  15. คิดในระดับโลก ข้อมูลในเว็บของคุณอาจจะไม่ดึงดูดคนในประเทศของคุณ แต่โลกของเว็บนั้นไร้ขอบเขต แล้วทำไมคุณไม่สื่อสารกับคนทั้งโลกล่ะ? ไม่จำเป็นต้องหาตลาดเฉพาะ (niche) ที่ใกล้ตัวคุณ ในเมื่อคุณมีโอกาสที่ไม่จำกัดอยู่ทั่วโลก
  16. อย่าแหกหลักการ ควรพูดคุยกับลูกค้าถึงแนวทางที่เว็บไซต์ควรถูกนำเสนอหรือพัฒนาขึ้น ให้ความเคารพกับมุมมองของลูกค้า แต่จงจำไว้เสมอว่าคนที่พัฒนาเว็บคือคุณ อย่าทำเพียงเพราะว่าคุณถูกสั่งให้ทำ ให้แก้ไขข้อผิดพลาดถ้าคุณพบว่าลูกค้าผิด จงเป็นมืออาชีพ เพราะในท้ายที่สุดแล้วคุณสร้างเว็บเพื่อผู้ใช้ ไม่ใช่เพื่อลูกค้าของคุณ
  17. ติดตามข่าวสารสม่ำเสมอ ตื่นตัวตลอดเวลาว่ามีอะไรเกิดขึ้นในโลกอินเทอร์เน็ต เว็บถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีไอเดียใหม่ๆ ออกมาเสมอ อย่างไรก็ตาม นิตยสารด้านการออกแบบและพัฒนาเว็บก็คุ้มค่าที่จะอ่าน
  18. เรียนรู้ที่จะสร้างสรรค์ ค้นหาไอเดียใหม่ๆ ตลอดเวลา พยายามเข้าไปอ่านตามกระดานข่าวของนักพัฒนาเว็บ มุ่งความสนใจของคุณไปยังสิ่งที่ผู้คนกำลังค้นหาและพูดถึงกันอยู่
  19. ทำเว็บให้สวยขึ้น CSS ดีไซน์ที่โปร่งตา อ่านง่าย และดูชาญฉลาด คือความสวยงาม
  20. ตระหนักถึงพลังอำนาจของเว็บอยู่เสมอ ให้การสนับสนุนแก่โครงการที่สำคัญต่อคุณในอนาคต
Source : Blog.macroart.net2013, By: Seo Master

seo ค่าเฉลี่ยอัตราการคลิกของ Google Search 2013

Seo Master present to you:
วันนี้ช่วงเช้าก่อนทำงานขณะนั่ง Research ข้อมูลเกี่ยวกับ Social Media ไปเจอรูปนี้เข้าเลยเก็บมาฝากครับ รูปนี้จริงๆเป็นของเว็บไซต์เจ้านึงที่บริการ Heatmaps หรืออะไรก็แล้วแต่มันเรียกได้หลายชื่อแล้วแต่จะตั้ง (ของ Truehits ก็มีใครใช้ Stat อยู่ก็เอา Clickmap มาติดได้เลยฟรี) แต่การทำงานคือระบบจะจับการคลิกของหน้าเว็บไซต์เราว่า User ที่เข้ามานั้นคลิกตรงส่วนไหนมากที่สุด เพื่อเจ้าของเว็บจะได้รู้ว่าคนที่เข้าเว็บมานั้นคลิกตรงไหนเป็นส่วนมากของ เว็บ ซึ่งจะสามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขเว็บเราให้รองรับการใช้งานมากขึ้น นี่คือข้อดีของ Heatmaps ครับ แต่วันนี้ไม่ได้มาพูดถึงเรื่อง Heatmaps แต่เอาการคลิกมาโชว์ให้ดูครับว่าหากคุณทำ Keyword ด้วยการทำ SEO หรือ PPC ต่างๆนั้นอัตราการคลิกจะเป็นดังรูปที่นำมาแสดง ทำไมหลายๆคนถึงอยากให้เว็บตัวเองขึ้นหน้าแรก อยากติด Top 5 ก็เพราะคนคลิกเยอะ เทียบอัตราการคลิกคร่าวๆให้ดูดังนี้ครับ

Organic Ranking Visibility

Rank 1 – 100%
Rank 2 – 100%
Rank 3 – 100%
Rank 4 – 85%
Rank 5 – 60%
Rank 6 – 50%
Rank 7 – 50%
Rank 8 – 30%
Rank 9 – 30%
Rank 10 – 20%

จะสังเกตุเห็นได้ว่ายิ่ง Rank สูงยิ่งดีอัตราการคลิก ค่าเฉลี่ยอัตราการคลิกของ Google Search ก็จะดีตามมา ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยว่าทำไมเจ้าของเว็บส่วนใหญ่จึงอยากให้เว็บตัวเองติด Keyword อันดับต้นๆ (แต่ไม่จำเป็นต้องติดหน้าแรกนะครับ ติดหลายๆคำและติดหลายๆหน้าก็มีค่าไม่ต่างจากติดหน้าแรกแล้วติดคำเดียวครับ)

Side sponsored ads visibility

1 – 50%
2 – 40%
3 – 30%
4 – 20%
5 – 10%
6 – 10%
7 – 10%
8 – 10%

ในส่วนนี้จะเป็น PPC ด้านขวามือก็คือ ADS ที่เราต้องจ่ายเงินนั่นเอง โดยปกติแล้วพฤติกรรมผู้ใช้การค้นหาส่วนใหญ่นั้นจะมองจากตรงกลางเลื่อนลงมาล่างสุดแล้วค่อยไปขวาบนลงล่างสุดครับ อัตราการคลิกนั้นจะน้อยกว่า SEO ครึ่งต่อครึ่งเลยครับ ดังนั้นในการทำเว็บหรือจะทำอะไรก็แล้วแต่ต้องคำนึงถึง SEO ด้วยว่าเว็บเราควรจะทำให้ติด Keyword คำไหน อะไร ยังไง เป็นต้นครับ

สรุปที่เขียนมาทั้งหมดเพราะรูปที่นำมาแสดงนั่นเอง เอามาให้ดูอัตราการคลิกว่าถ้าทำติด SEO จาก Top 1 - 10 แล้ว % การคลิกคนคลิกเท่าไหร่คลิกอะไรมากสุดดูจากรูปคือคำตอบ ขอให้โชคดีในการทำ SEO ครับ

Source : Blog.gootum.com2013, By: Seo Master

seo Social Bookmark คืออะไร ? ตอนที่ 2 2013

Seo Master present to you:
สำหรับเว็บ Social Bookmark นั้นมีในสังคมอินเตอร์เน็ตของเมืองไทยมานานหลายปีแล้ว แต่กลับได้รับความนิยมอยู่เพียงช่วงหนึ่ง แต่แล้วก็เหมือนเงียบหายไป เพราะความนิยมลดลงจนทำให้เว็บ Social Bookmark หลาย ๆ แห่งปิดตัวลง (เชื่อว่าเพื่อน ๆ บางท่านคงเคยได้มีโอกาสใช้เว็บไซต์ประเภทนี้)
จนกระทั้งเมื่อมีผู้ใช้นำเว็บ Social Bookmark มาใช้ในการทำ SEO เพื่อโปรโมทเว็บไซต์แบบ Off Page จึงทำให้เว็บ Social Bookmark เกิดใหม่อีกครั้ง และได้รับความนิยมอย่างสูงในการใช้โปรโมทเว็บไซต์ และหลังจากนั้นก็ดูเหมือนว่า เว็บประเภท Social Bookmark กลายเป็นช่องทางในการโปรโมทเว็บไซต์ ของ Webmaster หรือ Promoter จากเว็บไซต์ต่าง ๆ เพิ่งแค่อย่างเดียว (จุดประสงค์การใช้งานเปลี่ยนไป บุคคลที่ใช้งานคือคนที่ต้องการเผยแพร่เว็บไซต์)
ปัจจุบันนี้ ก็มีผู้สร้างเว็บ Social Bookmark ขึ้นมามากมาย ทั้งนี้เพราะคนสร้างเว็บเหล่านี้ ต้องการสร้างเว็บที่ใช้สำหรับสร้าง Back Link ขนาดใหญ่ ทั้งนี้เพราะผู้ใช้งานเว็บไซต์ประเภท Social Bookmark ในปัจจุบัน ก็จะมีแค่ 2 ประภท คือ
1. Webmaster หรือเจ้าของเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ต้องการโปรโมทเว็บ เพื่อทำ Back Link จากเว็บไซต์ Social Bookmark
2. ผู้ใช้งานทั่ว ๆ ไป ที่ทำการ Search ข้อมูลจาก Search Engine ต่าง ๆ และคลิกข้อมูลเข้ามายังเว็บไซต์ Social Bookmark ซึ่งปรากฏข้อมูลของผู้ใช้ในข้อ 1
สำหรับข้อดีของการโปรโมทผ่าน Social Bookmark นั้น เนื่องจากเว็บประเภท Social Bookmark นั้นตัวเว็บจะถูกปรับแต่งให้ถูกหลัก SEO อยู่แล้ว และประการที่สองคือ ตัวเว็บมีการอัพเดตข้อมูลถี่มาก ๆ (เพราะมีคนในกลุ่มที่ 1 ที่ตั้งใจเข้าเว็บมาเป็นประจำ และมีประเภทที่ 2 ก็เข้ามาในปริมาณที่มาก) และเมื่อมีปริมาณคนเข้าเว็บมาก ทั้งจากเข้าโดยตั้งใจแบบพิมพ์เข้ามาตรง ๆ และการเข้ามาผ่าน Search Engine จากทั้งสองประการทำให้เว็บมี Bot เข้ามาเยี่ยชมเว็บ Social Bookmark บ่อย ๆ ตามไปด้วย และเมื่อมีจำนวนคนใช้งานที่มาก ก็เป็นผลทำให้การจัดอันดับข้อมูลในเว็บ Social Bookmark (เว็บที่คนประเภทที่ 1 โปรโมทไว้) ดีไปด้วย
เพราะฉะนั้นปัจจุบันนี้ คนที่ใช้เว็บ Social Bookmark โปรโมทเว็บต่าง ก็ กำหนดให้บุคคลทั่วไป เห็นข้อมูลทั้งหมด เพราะ Bot ก็จะเห็นข้อมูลด้วย ซึ่งเชื่อว่าแทบจะไม่มีใครกำหนดสิทธ์แบบส่วนตัวอีกแล้ว เพราะงั้น ถ้าไปโปรโมทในเว็บ Social Bookmark ก็จำไว้ว่าต้องเลือกแบบ public เท่านั้น ไม่งั้น ก็โพสต์ฟรี ไม่ได้ Back Link แล้วจะเมื่อยมือซะปล่าว ๆ

เครดิต thainextstep2013, By: Seo Master

seo Social Bookmark คืออะไร ? ตอนที่ 1 2013

Seo Master present to you:
บางคนคงจะเคยได้ยินคำๆ นี้มาบ้าง หรือ บางคนอาจจะเคยรู้จักกับคำว่า Bookmark ซึ่งถูกใช้บ่อยๆ เมื่อเจอเว็บที่ชอบ แล้วต้องการเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง เพื่อที่ในวันหลังจะได้เข้าเว็บไซต์นี้ได้อีก ซึ่งเราเรียกการเก็บ URL เว็บไซต์แบบนี้ว่าการทำ Bookmark หรือ Add Favorite ซึ่งเมื่อเรา Bookmark หรือ Add Favorite ไว้แล้ว เราสามารถเข้าไปเรียก URL ต่างๆ ได้ จากการคลิกดูใน Favorite บรืเวณ Menu Bar
แต่การ Bookmark หรือ Add Favorite นั้น เราจะเปิดดูข้อมูลที่เราเก็บไว้ขึ้นมาดูได้ ก็ต่อเมื่อเราใช้เครื่องเดิมเท่านั้น หากเราไปใช้งานเครื่องอื่น ๆ เช่นที่ร้านอินเตอร์เน็ต ที่มหาวิทยาลัย หรือที่โรงเรียน ก็จะไม่มีข้อมูลที่เก็บไว้ ซึ่งก็มีบริการอีกแบบหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเราเรียกว่าเว็บ Social Bookmark โดยเมื่อเราสมัครสมาชิกกับเว็บ Social Bookmarkแล้ว เราจะได้ Username และ Password สำหรับเข้าใช้งานระบบขอเว็บไซต์นั้น ๆ ซึ่งเราสามารถนำข้อมูล URL ที่เราสนใจไปเก็บไว้ในระบบของเว็บ Social Bookmark ได้ ซึ่งไม่ว่าคุณอยู่ที่ไหนบนโลก หากมีอินเตอร์เน็ต ก็สามารถเข้าระบบของเว็บ Social Bookmark เพื่อเข้าไปดูข้อมูล URL ที่เก็บไว้ได้
นอกจากนี้แล้ว เว็บ Social Bookmark ยังมีระบบจัดการ ซึ่งนอกจากเราเพิ่มลบแก้ไขข้อมูลแล้ว เรายังสามารถกำหนดสิทธ์การใช้งานข้อมูลที่เราเก็บไว้ได้อีกด้วย อย่างเช่น เราอยากได้ความเป็นส่วนตัว ก็สามารถกำหนดได้ว่า ต้องล็อกอินเท่านั้นถึงจะเห็นข้อมูล หรือเราเห็นว่าเป็นเว็บที่มีประโยชน์ อยากแบ่งปันให้คนอื่น ๆ ได้รู้จักด้วย เราก็สามารถกำหนดให้บุคคลทั่วไป หรือสมาชิกคนอื่น ๆ ที่ใช้เว็บ Social Bookmark ได้เห็นข้อมูลที่เราเก็บไว้ได้ด้วย
ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น ทำให้การ Bookmark ผ่านเว็บกลายเป็นเสมือนสังคมสังคมหนึ่ง ที่มีการติดต่อ แบ่งปัน นอกจากนี้ก็อาจมีการแสดงความคิดเห็น การโหวตคะแนนให้กับสมาชิกคนอื่น ๆ ที่เราชอบ หรือได้รับประโยชน์จากข้อมูลที่เค้าได้เก็บไว้ ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า Social Bookmark

เครดิต thainextstep2013, By: Seo Master
Powered by Blogger.