Les nouveautés et Tutoriels de Votre Codeur | SEO | Création de site web | Création de logiciel

seo ประโยชน์ของการทำ SEO (Search Engine Optimization) 2013

Seo Master present to you: ประโยชน์ของการทำ SEO Search Engine Optimization

ทุกวินาทีที่คุณกำลังอ่านบทความอยู่ ยังมีผู้คนหลายร้อยล้านคนกำลังนั่งอยู่หน้าคอมพิวเตอร์และหลายล้านคนกำลัง ค้นหาข้อมูลผ่าน เสิร์ชเอนจิน Search Engine มันจะมีประโยชน์อะไรถ้าคุณทำเว็บไซต์แล้วไม่มีผู้เข้าชม หรือไม่มีคนค้นพบเว็บไซต์ของคุณใน เสิร์ชเอนจิน Search Engine ได้เลย

1.การสร้างลูกค้าด้วยค่าใช้จ่ายที่ประหยัด

ในการทำ SEO ท่านเสียเงินค่าทำ SEO เพียงครั้งเดียว ถ้าหากเว็บไซต์ของเราทำ SEO อย่างถูกต้องแล้วก็ยิ่งจะทำให้เราได้รับผู้ เยี่ยมชมที่สามารถกลายเป็นลูกค้า ของเราได้อย่างง่ายดายโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ในขณะที่คนอื่นอาจจะต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากต่อเดือนเพื่อลงโฆษณาบน Sponsored Links ไม่ว่าจะเป็น Google, Yahoo หรือ MSN หรือซื้อป้ายโฆษณาตามเว็บไซต์ดังๆ

2.ค่าใช้จ่ายที่คงที่

ค่าใช้จ่ายในการทำ Search Engine Optimization จะเป็นอะไรที่ค่อนข้างคงที่ ซึ่งในบางครั้งการทำ SEO ใน ช่วงแรกนั้นจะมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่พอผ่านขั้นตอนแรกไปแล้ว หลังจากนั้นก็จะเป็นขั้นตอนของการบำรุงรักษาอันดับ ค่าบริการสามารถลดลงได้ แต่ในทางกลับกัน การลงโฆษณาแบบ Paid-Search จะค่อนข้างเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

3.ช่วยสร้าง Brand Image

ถ้าหากตราสินค้าหรือองค์กรของคุณมีเว็บไซต์ของตัวเอง เมื่อลูกค้าพยายามค้นหาเว็บไซต์ของคุณกับพบเจอแต่เว็บไซต์ของคู่แข่ง คุณว่ามันจะเสียหายต่อธุรกิจของคุณแค่ไหน ซ้ำร้ายไปกว่านั้นจากประสบการณ์การทำเว็บไซต์ของผมพบว่าบางครั้งเราจะค้นหา เว็บไซต์หนึ่ง กลับพบเจอแต่เว็บไซต์อื่นที่พูดถึงเว็บไซต์ที่ผมพยายามจะค้นหาอยู่นั้นในแง่ เสียหาย อาจเกิดมาจากลูกค้าของคุณเองที่เข้าใจผิดหรือการจงใจสร้างข่าวของคู่แข่ง เป็นต้น และนอกจากที่ได้กล่าวไปแล้ว ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณติดอันดับต้นของ เสิร์ชเอนจิน Brand ของของคุณ ก็จะปรากฏต่อสายตาผู้ค้นหาเป็นจำนวนมาก ย่อมทำให้ Brand ของคุณเป็นที่รู้จักแพร่หลายอีกด้วย

4.ช่วยสร้างมาตรฐานในเว็บไซต์

ในการทำ SEO ผู้ทำจำเป็นที่จะต้องเข้าไปปรับรูปแบบของเว็บไซต์ ที่จำเป็นต่อการทำ SEO และ ประโยชน์ที่จะตามมานั้นก็คือจะช่วยทำให้เว็บไซต์ของเราเป็นมาตรฐานมากขึ้น และเป็นประโยชน์กับผู้เข้าชมเว็บไซต์

5.ช่วยสร้างลูกค้าใหม่

การค้นหานั้นเกิดจากความต้องการของผู้เยี่ยมชม เพราะฉะนั้นแล้วผู้เยี่ยมชมที่มาจาก Search Engine โดยส่วนมากจะมีความสนใจในสินค้าหรือบริการ และถ้าหากเว็บไซต์ของเราแสดงเนื้อหา ข้อมูลที่พวกเขาต้องการ การที่พวกเขาเหล่านั้นจะเปลี่ยนเป็นลูกค้าประจำคนใหม่ของคุณนั้นก็มีโอกาส เป็นได้สูงเช่นกัน

6.SEO ทำหน้าที่โดยไม่เคยหลับ

Search Engine นั้น เปรียบเทียบได้กับบริษัทโฆษณาส่วนตัวของคุณและทำงานให้คุณตลอด 24 ชั่วโมงต่อวัน 7 วันต่ออาทิตย์ 365 วันต่อปี ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณมีการทำ SEO ติดอันดับต้นๆ Search Engine ก็เปรียบได้กับบริษัทโฆษณาที่ไม่เคยหลับ

เครดิต idoseo.org 2013, By: Seo Master

seo Google คืออะไร ? 2013

Seo Master present to you:
Google คือ ผู้ให้บริการ Search Engine ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีผู้นิยมใช้งานมากกว่า 80% จากผู้เล่นอินเตอร์เน็ตทั้งหมด Google นอกจากจะให้บริการ Search Engine แล้ว ยังมีบริการอื่นๆที่มีประโยชน์อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น Gmail หรือ Google Mail เป็นบริการอีเมลล์ฟรีและมีขนาดพื้นที่เก็บเมลล์ใหญ่จุใจ ที่สำคัญ Google ให้ใช้ฟรีซะด้วยสิ Google Adsense เป็นแหล่งทำเงินบนอินเตอร์เน็ตชั้นดี ไม่ใช่ระบบลูกโซ่แบบที่เห็นๆกันในมากมายในบ้านเรา และที่ดีที่สุดคือไม่เบี้ยวเงินเราแน่นอน เมื่อเราทำยอดได้ตามเป้าหมาย กูเกิ้ลก็จะส่งเช็คมาถึงตู้จดหมายบ้านเรา ศึกษาเกี่ยวกับ การหารายได้จาก Google Google Adwords ใช้สำหรับลงโฆษณากับกูเกิ้ล เป็นการโปรโมทเว็บไซต์ในระยะสั้น และค่อนข้างได้ผลดี (โดยเฉพาะเว็บภาษาอังกฤษล้วน) Google Adwords เองยังสามารถนำไปประยุกต์เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย Blogger เป็น blog สารพัดประโยชน์ที่ผลิตโดยกูเกิ้ล จึงรองรับ Application ต่างๆในเครือกูเกิ้ลด้วย เช่น Google Adsense, Picasa Photo Album เป็นต้น ทำให้เราสามารถสร้าง Blog ดีๆแถมยังทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำอีกด้วย Google Webmaster Tools ชื่อก็บอกนะว่าเครื่องมือสำหรับเว็บมาสเตอร์ ซึ่งก็จะช่วยเว็บมาสตอร์จัดการส่งเว็บไซต์ของตนเข้าสู่การ Index ในกูเกิ้ล และมีบริการเก็บสถิติการ Crawl จาก Google Bot ด้วย Google Analytics เป็นบริการวิเคราะห์สถิติของผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ อีกทั้งยังสามารถบอกแหล่งที่มาของผู้เข้าชม และ พื้นที่ของประเทศที่ผู้เข้าชมอาศัยอยู่ด้วย

เว็บไซต์ Google (www.Google.com) เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ต โดยค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป แล้วทำการค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวข้องนำมาแสดงผล เว็บไซต์ Google ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการค้นหาข้อมูล เว็บไซต์ Google แบ่งหมวดหมู่ของการค้นหาออกเป็น 4 หมวดหมู่ด้วยกัน ดังนี้คือ
  • เว็บ (Web) เป็นการค้นหาข้อมูลในรูปแบบของเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยการแสดงผลจะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำที่เป็น Keyword อยู่ภายเว็บไซต์นั้น
  • รูปภาพ (Images) เป็นการค้นหารูปภาพจากการแปลคำ Keyword
  • กลุ่มข่าว (News) เป็นการค้นหาข้อมูลที่เป็นเนื้อหาที่อยู่ในข่าว ซึ่งมีการระบุชื่อผู้เขียนข่าว หัวข้อข่าว วันที่และเวลาที่โพสต์ข่าว
  • สารบบเว็บ (Web Directory) Google มีการจัดประเภทของเว็บไซต์ออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งเราสามารถค้นหาเว็บในเรื่องที่ต้องการตามหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วได้เลย
วิธีการใช้งาน Google ค้นหาข้อมูลแบบติดจรวด

การค้นหาโดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้วจะใช้คำ Keyword เป็นเครื่องมือในการนำทางการค้นหาอย่างเดียว แต่ถ้าเรารู้จักใช้เครื่องหมายบางตัวร่วมด้วย ก็จะทำให้ขอบเขตการค้นหาของ Google แคบลง ทำให้เราได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น เครื่องหมายที่สามารถนำมาช่วยในการค้นหาได้ มีดังนี้

การค้นหาด้วยเครื่องหมายบวก (+) เหมาะสำหรับการค้นหาคำ Keyword ที่มีลักษณะเป็นตัวเชื่อม เพราะโดยหลักการทำงานของ Google แล้ว Google จะไม่ค้นหาคำประเภทตัวเชื่อม เช่น at, with, on, what, when, where, how, the, to, of ถึงแม้ว่าเราจะมีการระบุเหล่านี้ลงใน Keyword ด้วยก็ตาม

ดังนั้นถ้าเราต้องการให้ Google ทำการค้นหาคำเหล่านี้ด้วย เนื่องจากเป็นคำสำคัญของประโยคที่เราต้องการ สามารถใช้เครื่องหมาย + ช่วยได้ โดยมีเงื่อนไข ว่า ก่อนหน้าเครื่องหมาย + ต้องมีการเว้นวรรค 1 เคาะด้วย เช่น ถ้าต้องการค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเกมส์ที่มีชื่อว่า Age of Empire ถ้าเราพิมพ์ Keyword ...Age of Empire… Google จะทำการค้นหาแยกคำโดยไม่สนใจ of คืออาจจะค้นหา Age หรือ Empire แค่ตัวเดียว แต่ถ้าเราระบุว่า Age +of Empire Google จะทำการค้นหาทั้งคำว่า Age, of และ Empire เป็นต้น

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข (+)
การค้นหาด้วยเครื่องหมายลบ ( - ) จะช่วยให้เราสามารถตัดเรื่องที่เราไม่ต้องการ หรือไม่เกี่ยวข้องออกไปได้ เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง แต่ไม่ต้องการ การล่องแก่งที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดตาก ให้เราพิมพ์ Keyword ว่า ล่องแก่ง -ตาก (เช่นเดียวกับเครื่องหมาย + ต้องเว้นวรรคก่อนหน้าเครื่องหมายด้วย) Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง แต่ไม่มีจังหวัดตากเข้ามาเกี่ยวข้อง

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข (-)
การค้นหาด้วยเครื่องหมายคำพูด ("...") เหมาะสำหรับการค้นหาคำ Keyword ที่มีลักษณะเป็นประโยควลี ที่เราต้องการให้มันแสดงผลทุกคำในประโยค โดยไม่แยกคำ เช่น ถ้าเราต้องการหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเพลงที่มีชื่อว่า If I Let You Go ให้พิมพ์ว่า "If I Let You Go" Google จะทำการค้นหาประโยค "If I Let You Go" ทั้งประโยคโดยไม่แยกคำค้นหา

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข ("...")
การค้นหาด้วยคำว่า OR เป็นการสั่งให้ Google ค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เช่น ถ้าเราต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง ทั้งในจังหวัดตาก และปราจีนบุรี ให้เราพิมพ์ Keyword ว่า ล่องแก่ง ตาก OR ปราจีนบุรี Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่งทั้งในจังหวัดตาก และกาญจนบุรี

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข (OR)

เครดิต maw_ne | dld.go.th2013, By: Seo Master

seo หลักการทำงาน Search Engine 2013

Seo Master present to you:

หลักการทำงาน Search Engine ปัจจัยการทำงานหลักอยู่ 3 ประการ

1. Search Engine ทั้งหลายค้นหาข้อมูลใน Internet และเลือกสรรเว็บเพจต่าง ๆ ออกมาตามคำสั่ง ของผู้ใช้งาน Keyword

2. Search Engine วิ่งเข้าไปเก็บข้อมูลต่าง ๆ เอามาเก็บไว้ในฐานข้อมูล Indexing เพื่อรอการเรียก ค้นหา (Indexing ก็จะคล้ายๆ กับ ดัชนีท้ายเล่มหนังสือนั่นเอง)

3. Search Engine อนุญาติให้ผู้ใช้ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ด้วยการเปรียบเทียบการสอดคล้องระหว่างคำ หรือข้อมูลที่เป็นประโยคสั้น ๆ ที่ใช้ค้นหาใน Index ของ "Search Engine" ดังนั้นก่อนที่ Search Engine จะบอกคุณว่า ข้อมูลที่คุณหาอยู่ในเว็บเพจใดในโลก Internet มันจะต้องมีข้อมูลทั้งหมดอยู่แล้ว เพราะฉนั้น Search engine จึงมีซอฟต์แวร์อัตโนมัติที่เรียกว่า Spider หรือ Robot ที่จะคอยวิ่ง (Crawling) ไปตามเว็บเพจต่างๆ โดยการใช้ลิงก์มากมายเป็นถนม ให้มันวิ่งผ่านแล้วเอาข้อมูลหรือเนื้อหาของเว็บเพจเหล่านั้นมาเก็บใส่ Index ของมันเอาไว้เพื่อเตรียมการรอว่าเมื่อไหร่จะมีใครมาค้นเจอนอกจากการใช้ลิงก์ในการเก็บข้อมูล ยังมีอีกสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นโดยสามารถ เรียกเจ้า Spider ให้เข้ามาเก็บข้อมูลได้อีกคือ ความนิยมของเพจนั้น ๆ เพราะเจ้า Spider มันจะวิ่งเข้าหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เก็บไฟล์เว็บเพจนั้น (Server) ที่มีอัตราการใช้อย่างหนักหน่วงในแต่ละวินาที พูดง่ายก็คือเว็บเพจใดที่มีคน
เข้าไปดูมาก ๆ เป็นที่นิยม และมีการอัปเดตเนื้อหาอยู่บ่อย ๆ เจ้า Spider มันจะเข้ามาเองนั้นแหละ

ทั้งหมดที่ว่ามา ก็คือพื้นฐานหลักการทำงานของ "Search Engine" ที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ หรือไม่เคยสนใจ แต่หลายคนอาจจะมาาขอบคุณผมที่หลังก็ได้ ถ้าคุณตั้งใจจะทำ "SEO" จริง

เครดิต seo-service 2013, By: Seo Master

seo เสิร์ชเอนจิน (Search Engine) คือ ? 2013

Seo Master present to you:
เสิร์ชเอนจิน (Search Engine) หรือ โปรแกรมค้นหา และคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย

เสิร์ชเอนจิน ส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจิน บางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

 สัดส่วนของผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา

   1. กูเกิล (Google) 49.2%
   2. ยาฮู(Yahoo!) 23.8%
   3. เอ็มเอสเอ็น (MSN ) 9.6%
   4. เอโอแอล (AOL) 6.3%
   5. อาส์ก (Ask) 2.6%
   6. อื่นๆ 8.5%

เครดิต วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี 2013, By: Seo Master
Powered by Blogger.