Les nouveautés et Tutoriels de Votre Codeur | SEO | Création de site web | Création de logiciel

seo Trust และ Authority คืออะไรในแง่ของ SEO 2013

Seo Master present to you:
หากใครที่ศึกษา SEO ด้วยตนเองจากเนื้อหาภาษาอังกฤษแล้วละก็ บุคคลเหล่านั้นจะพบเจอคำว่า Trust กับ Authority อยู่บ่อยครั้ง ส่วนในภาษาไทยเองก็มีการพูดถึงบ้างเป็นครั้งคราว บทความนี้จะมาอธิบายว่ามันคืออะไร แล้วมี Factors อะไรบ้างที่เป็นส่วนประกอบของ Trust และ Authority นี้ สำหรับคำว่า Trust ในความหมายของ SEO นั้นหลายๆ คนคงจะรู้อยู่แล้ว แต่สำหรับคนที่ไม่รู้นั้น Trust ก็คือความน่าเชื่อถือที่ Google มีต่อเว็บเพจและเว็บไซต์ ยิ่งมีความน่าเชื่อถือมาก งานแต่ละชิ้นที่ออกมา ก็ได้รับความไว้วางใจมาก ส่วนในด้านของ Authority ในความหมายของ SEO ก็คือศูนย์กลางของข้อมูลในเรื่องใดๆซึ่งจะช่วยบอกถึงความสำคัญและการเป็นที่นิยมในเรื่องนั้นๆ

ในที่นี่ก็คือเว็บไซต์ที่มี Link ภายนอกจำนวนมากยิงเข้ามาที่เว็บไซต์และมีจำนวนลิ้งค์ออกน้อยๆ การมีค่า Trust และ Authority สูงๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถช่วยให้เราติดอันดับได้ง่ายขึ้น เมื่อเข้าใจถึงความหมายของมันแล้ว เรามาลองดูกันดีกว่าว่า ค่า Trust และ Authority มีส่วนประกอบมาจากอะไรบ้าง โดยข้อมูลอ้างอิงก็เอามาจากวิดีโอนี้เลยนะ (Presented โดย Rand Fishkin, CEO Seomoz)


Trust
สำหรับ Trust นั้น มีส่วนประกอบอยู่ 4 ส่วน หลักๆ คือ

  • Who links to you ใครลิ้งค์มาหาคุณบ้าง ในส่วนนี้ Rand บอกว่า Yahoo เคยอธิบายว่า การวิเคราะห์ Trust โดยอาศัย link ที่ิยิงไปหาเว็บอื่นๆ จะเริ่มจากเว็บที่ไม่มีการยิงไปหาเว็บ spam เลย หลังจากนั้นก็เอาเว็บปลายทางเหล่านั้นมาคำนวณหาอีก ว่ามีการยิงไปหาเว็บ spam กี่เปอร์เซ็น แล้วก็เอาเว็บปลายทางของรอบที่สองนี้มาหาต่อ ซึ่งจะวนแบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่ % ของเว็บที่ยิงไปหาเว็บ spam นั้นก็จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ค่า Trust น้อยลง เพราะฉะนั้นแล้ว หากเราได้ลิ้งค์จากเว็บที่ยิงออกไปหาเว็บ spam น้อยๆ เราก็จะได้รับความไว้วางใจมากขึ้นนั่นเอง
  • Who do you link to ในทางตรงกันข้ามกับ Factor แรก แล้วคุณล่ะ Link ไปหาใครบ้าง อันนี้ก็สำคัญไม่แพ้ข้อแรกเลย เพราะหากคุณลิ้งค์ไปหาเว็บ Spam คุณจะถูกพิจารณาว่าเป็นเว็บ spam ไปด้วย เพราะฉะนั้นแล้วคุณต้องดูดีๆ ว่า เว็บใดๆ ที่คุณลิ้งค์ไปหา เป็นเว็บ spam หรือเปล่า และหากคุณลิ้งค์ไปหาเว็บที่มีความน่าเชื่อถือเป็นจำนวนมาก คุณก็จะได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย
  • Registration info ข้อมูลในการจด Domain ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถนำมาพิจารณาได้ หากคุณจด Domain โดยใช้ชื่อเดียวกันหมดก็จะรู้ได้ว่าเว็บใดบ้างที่มีเจ้าของเดียวกัน หรือแม้กระทั่งข้อมูลที่อยู่หรือเบอร์โทศัพท์ ก็อาจจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับเจ้าของเดียวกันด้วยก็ได้ แล้วมันเกี่ยวกับ Trust ไม่ Trust ยังไง ก็ตรงที่หากเว็บไซต์ของคุณแทบทั้งหมดเป็นเว็บ spam เว็บไซต์ใหม่ๆ ของคุณก็อาจจะเป็นอยู่ในข่ายไม่น่าไว้วางใจไปด้วย ซึ่งอาจจะติดอยู่ใน Sandbox เพื่อพิจารณาสักระยะ (ความหมาย SandBox ที่ผมใช้ในที่นี้ หมายถึงเว็บที่อยู่ในข่ายที่ต้องพิจารณาคุณภาพก่อน ไม่ใช่เว็บที่ติดโทษแบนแต่อย่างใด)
  • User Data Signal ข้อมูลจาก user ที่สามารถนำมาใช้ในการบอกถึงความน่าเชื่อถือได้ ซึ่งในส่วนนี้ค่อนข้างกว้าง แต่โดยรวมๆ แล้ว ก็จะมีพวกข้อมูลที่ได้จาก Google Toolbar, Free - Wifi, Google Analytics, Third Parties จากทั่วโลก โดยที่ข้อมูลเหล่านี้ อาจจะบอกถึงความเป็นธรรมชาติและไม่ปกติของเว็บต่างๆ ได้ แต่เรื่องนี้ค่อนข้างพูดยาก เพราะว่าต้องพิจารณากันค่อนข้างละเอียด และเว็บแต่ละชนิดอาจจะมีข้อจำกัดต่างกัน แต่ก็เอาเป็นว่าถ้าวิเคราะห์ดีๆ ก็สามารถวัดความน่าเชื่อถือได้บ้างไม่มากก็น้อยนั่นล่ะ ทีนี้เราก็คงพอมองภาพรวมออกแล้วว่า Trust มีส่วนประกอบอะไรบ้างนะครับ

Authority
คราวนี้มาดู Authority กันบ้าง ซึ่งก็มีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 อันเช่นกัน

  • Link Juice / PageRank ปกติแล้ว PageRank จะเป็นตัววัดค่าของหน้าเว็บแต่ละหน้าเท่านั้น แต่ว่ากรณีนี้ให้มองไปในลักษณะภาพรวมของ Domain เป็นการวัดค่าของลิ้งค์ที่ยิงเข้าและออกในระดับ Domain Level แต่ในส่วนนี้จะเกี่ยวเนื่องกับข้อถัดไปด้วย
  • Diversity of Link Source เมื่อก่อนนี้การได้ Backlink จากเว็บ PR สูงๆ เพียงเว็บหรือสองเว็บ ก็ช่วยให้เว็บเรามีอันดับที่ดี และถูกพิจารณาว่าเป็นเว็บที่มีความสำคัญแล้ว แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านั้นได้เปลี่ยนไป คุณภาพของเว็บต้องได้รับพิจารณาถึงความหลากหลายของ Link ที่เราได้มาด้วย ซึ่งก็คือการได้ Link มาจากหลายๆ โดเมน (ที่มี Registration Info แตกต่างกัน) และโดเมนเหล่านั้น ก็ยิง Link ตรงมาที่เราโดยตรง เพราะฉะนั้นแล้ว การมองภาพรวมในระดับ Domain Level จึงมีส่วนสำคัญเช่นกัน
  • Temporal Analysis สำหรับเว็บที่ทำการปั่นให้ได้อันดับดีๆ นั้น อาจจะเกิดเหตุการที่ว่า link ค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นขั้นบรรได แต่อยู่ๆ ก็มีช่วงระยะเวลาหนึ่งที่จำนวน Link เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และลดลงอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาถัดมาเช่นกัน สิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจจะถูกตรวจสอบว่ามีการ ซื้อ Link มาหรือเปล่า และหากเป็นเช่นนั้นเว็บเราก็จะถูกลดค่า Authority ลง เพราะไม่ได้มีลิ้งค์เข้ามาอย่างเป็นธรรมชาติ (Google ต้องการลดช่องว่างระหว่างคนที่มีเงินทำเว็บกับที่ไม่มีให้มากที่สุด)
  • Distribution Analysis ในกรณีที่เว็บเรามี PR สูงและมี Link เข้ามาเยอะจริง แต่กลับมี Link เข้ามาหาเพียงแค่เพจหรือสองเพจ ในขณะที่เพจอื่นๆ ไม่มี Link เข้ามาเลย ตรงนี้ก็จะสามารถถูกพิจารณาได้ว่า ไม่ควรมีค่า Authority สูง อย่าง Wikipedia เองมี เพจต่างๆ มากมายแต่ก็มี Link เข้ามายังเพจเหล่านั้นมากมายเช่นกัน

เรื่อง Trust และ Authority นี้ ผมอยากให้ท่านผู้อ่านจำเอาไว้เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำ SEO ซึ่งหากเรามีความเข้าใจพื้นฐานดีแล้ว เราจะสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับบทความนี้ก็คงจบแต่เพียงเท่านี้แหละนะครับ

Source : Ngokung2013, By: Seo Master

seo ตรวจสอบ SEO Onpage ด้วย SEO Doctor 2013

Seo Master present to you:
SEO Doctor
หลายต่อหลายครั้งที่เราได้ทำ SEO Onpage ให้กับเว็บไซต์ของเราแต่อยากทราบว่าสิ่งที่เราทำมันถูกต้องและดีพอหรือยัง? จะหาเว็บไซต์ที่ตรวจสอบ SEO Onpage ก็ยุ่งยากบางทีเว็บล่มบางทีก็ประมวลผลช้าเสียเวลาและไม่แม่นยำเท่าที่ควร! นึกฝันอยากจะได้เครื่องมือตรวจสอบ On Page ที่บอกรายละเอียดสำคัญๆต่างๆให้เราได้ทราบบ้าง อะไรที่มันรวดเร็วทันใจ! ต่อจากนี้ไปปัญหาเหล่านี้จะหมดไปด้วย Add on for Firefox นั้นก็คือ SEO Doctor (คลิ๊กโหลดได้เลยครับ) หลังจากทำการติดตั้ง SEO Doctor เสร็จสมบูรณ์แล้ว เราก็ไปดูขั้นตอนและวิธีใช้งานของ Add On ตัวนี้ว่ามีทีเด็ดและลูกเล่นอะไรให้เราได้ใช้กันบ้างไปดูกันเลยครับ

สังเกตว่าจะมีสัญลักษณ์รูปธงอยู่บริเวณด้านบนช่อง URL ครับ

SEO Doctor Flag

สังเกตจะมีสัญลักษณ์รูปธงอยู่บริเวณซ้ายล่างเช่นเดียวกัน และมีรายละเอียดต่างๆดังรูป

SEO Doctor Details

ที่นี่เรามาดูรายละเอียดในส่วนต่างๆของ SEO Doctor กันครับส่วนแรก SEO Score ก็คือจะเป็นคะแนนการทำ SEO Onpage ของเว็บไซต์ของเรา โดยจะมีคะแนนเต็มเที่ยบเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ 100% หรือเราสามารถตรวจสอบได้จากสัญลักษณ์รูปธงก็ได้

SEO Doctor Green Flagธงสีเขียว ความหมายคือ SEO Onpage ทุกอย่างสมบูรณ์แบบได้คะแนนเต็ม

SEO Doctor Yellow Flagธงสีเหลือง ความหมายคือ มีส่วนที่ต้องปรับปรุง ที่ควรแก้ไขบ้างเล็กน้อยบางจุด

SEO Doctor Red Flagธงสีแดง ความหมายคือ ต้องปรับปรุงแก้ไขเป็นการด่วนครับ

SEO Doctor No Index
Icon - ความหมายคือ หน้าหรือ Page นี้ยังไม่ถูก Index เลยไม่มีข้อมูล

ในส่วนนี้เรามาดูหลักเกณฑ์และวิธีในการคิดคะแนนของ SEO Doctor กันครับจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้เราสามารถที่จะคลิ๊กดูคะแนนหรือ SEO Score ได้โดยวิธีที่ 1. โดยกดบริเวณสัญลักษร์ที่เป็นรูปธงตรงแถบ URL วิธีที่ 2. คลิ๊กบริเวณที่แถบด้านซ้ายล่าง จะมีรายละเอียดต่างๆดังรูปต่อไปนี้

SEO Doctor Score

1. Page Indexable - หน้า Page ได้รับการ index หรือยัง?

2. Meta Description - มีการใส่ Meta Description หรือยัง?

3. H1 And H2 Tags - ควรจะมีการใช้ คำสั่ง H1 และ H2 ครับ

4. ALT Image Tag - ควรใส่ ALT Tag ให้กับรูปภาพต่างๆ

5. SEO Friendly URLs - URL เป็นประโยชน์ในการสื่อความหมายและก่อให้เกิดความเข้าใจ

6. Title Tag - Titile ควรมีอักษรตั้งแต่ 11 ถึง 70 ตัวอักษร และ Title ควรเกี่ยวข้องกับ keyword

7. Number of links - จำนวน Link ในหนึ่งหน้าไม่ควรมากกว่า 100 Links ครับ

8. Page Rank Flow - จำนวน % ของ Link ที่ไหลออกครับ

9. Loading Time - เวลาที่ใช้ในการโหลด Page ยิ่งเร็วยิ่งดีครับ

10. Web analytics - ควรจะติด Google Analytics ครับ

สรุปจากรายละเอียดทางด้านบนแล้วเราควรปรับแต่ง SEO Score ให้ได้คะแนนออกมาสูงๆหรือออกมาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ครับ แต่โดยมุมมองส่วนตัวแล้ว SEO Doctor ไม่ใช่เครื่องมือที่สามารถที่จะวัดการทำ SEO On Page ที่บอกได้ตรงและถูกต้องจริงๆเป็นแค่เพียงแนวทาง เพราะยังมีปัจจัยอีกหลายๆอย่างอีกมากมายในการทำ SEO On Page อย่างไรก็ตามก็ยังแนะนำให้ลองศึกษาเรื่อง SEO และให้ความสำคัญกับส่วนอื่นๆด้วย

เครดิต : Thaiseoboard Consensus2013, By: Seo Master
Powered by Blogger.